mardi 16 février 2010



ประวิติวัดศรีสุพรรณ

วัดศรีสุพรรณ ศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น หัถกรรมช่างหล่อ ถนนช่างหล่อ หัถกรรมเครื่องเงิน ถนนวัวลาย วิสัยทัศน์มุ่งมั่นจรรโลงพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี วิธีชาวพุทธ ควบคู่กับการพัฒนาวัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น เศรษฐกิจชุมชน จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน 508 ปี ( ปี พ.ศ.2551 ) ตามหลักศิลาจารึกบนหินทรายแดง กล่าวถึงประวัติวัดศรีสุพรรณชัดเจนว่า ราว พ.ศ.2043 พระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิกลปนัดดาธิชา ร่วมกับพระราชมารดาเจ้า โปรดเกล้า ให้ขุนหลวงจ่าคำ นำเอาพระพระพุ ทธรูปองค์หนึ่งมาประดิษฐานนแล้วสร้างวัดแห่งนี้ขึ้น เดิมเราเรียกชื่อว่า (วัดศรีสุพรรณอาราม)เป็นศูนย์กลางแหล่งศิลปวัฒนธรรมการศึกษาภูมิปัญญาล้านนา




อุโบสถเงิน

อาศัยมิติด้านการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นหัถกรรมเครื่องเงิน บนถนนวัวลาย จังหวัเชียงใหม่ ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมากว่า 200 ปี ซึ่งปัจจุบันนับว่ากำลังศูนย์หายไปกับกระแสโรกาภิวัตน์อย่างปรากฎชัดเจน ประกอบกับอุโบสถหลังเดิมของวัดศรีสุพรรณ ชำรุดทรุดโทรมไม่สดวกในการประกอบศาสนกิจ เป็นเหตุผลและแนวคิดของการนำภูมิปัญญาล้านนาสู่สากล มาสร้างเป็นอุโบสถเงินบนฐานเดิม โดยช่างภูมิปัญญาชาวบ้าน'ร่วกันสร้างสรรค์ผลงานสลักลวดลายลงบนแผ่นเงินบริสุทธิ์ เงินผสม อลูมิเนียม และวัสดุแทนเงิน ประดับตกแต่งทั้งภายนอกและภายในตลอดทั้งหลัง ซึ่งเป็นหลังแรก ที่ภูมิปัญญาชาวบ้านได้จัดสร้างขึ้น ตั้งแต่ 2 มิถุนายน 2547 ฝากศิลป์แก่แผ่นดินถื่นล้านนา ถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนา เทิดไท้องค์ราชัน รัชกาลที่ 9



samedi 23 janvier 2010

ความรู้เพิ่มเติม


การผสมชัน (ขี้ย้า) สำหรับรองฐานในการดุนลายในการทำหัตถกรรมเครื่องเงิน

วัสดุอุปกรณ์
1.ชันรงค์ ดิบ

2.ดินเหนียวแห้งบดละเอียด

3.น้ำมันหมู

อัตราส่วน

1. ชัน 5 กิโลกรัม

2. ดินเหนียวบดแห้งละเอียด 3 กิโลกรัม

3. น้ำมันหมูตามสัดส่วนที่เหมาะสม


วิธีผสมชัน
นำชันมาต้มให้เหลวเป็นน้ำเสียก่อน จากนั้นเอานำมันหมูใส่ลงไปพอประมาณ แล้วแต่ว่าต้องการชันแบบไหน ถ้าต้องการแบบเหนีย็ก็ใส่น้ำมันมาก หารต้องการแบบอ่อนก็ใส่เล็กน้อย จากนั้นคนให้เข้ากัน เอาดินเหนียวใส่ลงไปประมาณ 3-5 กิโลกรัมต่อชันดิ 5 กิโลกรัม ถ้าต้องการแบบเหนียวก็ใส่มากกว่านำมันหมู ½ เท่า


ชัน คือ

ยางไม้ชนิดหนึ่งคล้ายชันยาเรือ เป็นยางที่ได้จากไม้พันธุ์สนเอเชีย, ออสเตรเลีย และในอเมริกาใต้ ใช้ทำพวกยาขัดมันหรือชักเงา



การทำลวดลายในการต้องลายมี 3 รูปแบบ


1.การทำลายนูนต่ำ


2.การทำลายเบา


3.การทำลายนูนสูง



การทำลายนูน



1. การทำเครื่องเงิ (ดุนลายนูนต่ำ)


ขั้นตอนการทำลายนูนต่ำ
1. วัดขนาดแผ่นอลิมิเนียมให้พอเหมาะกับขนาดของงาน

2. ใช้กรรไกรตัดเหล็กตัดแผ่นอลูมิเนียมที่วัดขนาดไว้

3. นำแผ่นที่ตัดแล้วมาวัดขอบด้านละ 1 เซนติเมตรหรือมากกว่านั้นตามลายที่ต้องดุล

4. ตัดมุมทั้ง 4 มุมของแผ่นตามขนาดที่วัดได้ในขั้นตอนที่
3
5. นำแผ่นที่ตัดมุมเรียบร้อยแล้วมาตีขอบ
โดยวางเหล็กกรองให้มีลักษณะเป็นกระบะดังรูป เพื่อไม่ให้ชันไหลออกจากแผ่นในขณะทำงาน


6. เทชันใส่ชิ้นงานแล้วรอให้ชันเย็นและแข็งตัว
7. นำแผ่นที่ชันแห้งแล้วมายึดติดกับฐานกรองไม้โดยใช้ถุงพลาสติกกั้นระหว่างแผ่นงานกับไม้เพื่อกันไม่ให้ชันติดไม้

8. ทากาวบนแผ่นงานแล้วติดแบบลายลงให้เรียบร้อย รอให้กาวแห้ง

9. ใช้เหล็กหรือเครื่องมือต้องลาย ต้องลานตามแบ

10. ตรวจดูความเรียบร้อยของลายที่ดุนเสร็จแล้ว
11. เอาชิ้นงานที่ดุนลายเสร็จแล้วออกจากไม้ที่รองพื้น ใช่หัวแก๊ส เผาชันออกจากชิ้นงานให้หมดหรือใช้น้ำมันก๊าดหรือดีเซลล้างออก

12. ทำการตกแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อย

13. ใช้แก๊สเผาชิ้นงานอีกครั้งเพื่อทำการรมดำ

14. ใช้แปลงทากีวีลงบนชิ้นงาน

15. รอให้กีวีแห้งแล้ว ใช้ฝอยขัดกีวีออก หรือขัดด้วยมอเตอร์ขัดเงา

16. ตกแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อย



การทำลายเบา



2. การทำเครื่องเงิน (ดุนลายนูนเบา)
ลายเบาเป็นลายแบบแรกที่นักศึกษาฝึกหัดจะต้องทำการตอกลายเพื่อฝึกในการเดินเส้นให้คมบาง ลายเบาเป็นศิลปหัตถกรรมการแกะสลักลวดลายลงบนแผ่นโลหะหรือภาชนะที่ทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ โดยเฉพาะช่างภาคกลางจะนิยมแกะสลักลวดลายลงบนภาชนะประเภท
ขันเงิน เข็มขัดเงิน หม้อหูหิ้ว พานรองถาด ทัพพี ปิ่นโต เป็นลักษณะลายโดยไม่มีมิติของความสูงต่ำ จะเห็นเพยงลวดลายที่ปรากฏบนผิวของโชลกะเท่านั้นประกอบกับการที่คนไทยนิยมใช้ภาชนะที่ทำด้วยเงินมาไว้ใช้ในงานทำบุญ ซึ่งต่อมาเครื่องเงินมีราคาแพงและหายากจึงได้มีผู้คิดค้นที่จะผลิตของใช้ประเภทดังกล่าวขึ้นแทนเครื่องเงิน โดยโรงงานที่กรุงเทพฯ ได้ผลิตเป็นภาชนะที่ทำด้วยอลูมิเนียมรูปทรงต่าง แทน พร้อมทุ้งได้กลึงพิมพ์เหล็กให้เข้าได้กับขนาดรูปภาชนะ จากนั้นภาชนะได้ว่าจ้างช่างเครื่องเงินจากเชียงใหม่ลงไปแกะสลักที่กรุงเทพ




การทำลายนูนสูง



3. ลายนูนสูง
การทำลายนูนสูงในสมัยโบราณ ช่างจะทำเป็นลายนูนสูงชั้นเดียวโดยช่างจะดุนลายในเพียงชั้นเดียว จากนั้นประกอบลายด้านหลัง หลังจากนั้น ช่างรุ่นหลังก็เริ่มคิดค้นลายนูนสูงสองชั้น โดยการดุนลายในขึ้นมาสองชั้นจนติดกัน ทำเป็นลายนูนสูงหลายชั้น ช่างจะดุนลายนูนสูง..ลายนูนสูงทั้ง 2 ชั้น ช่างทำลายนูนสูงโดยการสังเกตจากธรรมชาติ สิ่งรอบตัว โดยช่างจะทำลักษณะรูปร่างหรือลวดลายให้เหมือนจริงทุกอย่าง ซึ่งในการทำลายในสมัยนี้ จะมีความสลับซับซ้อนมาก เป็นการพัฒนาผลงานให้แตกต่างไปจากผลงาน ของช่างรุ่นก่อน แต่ก็ยังนำหลักการของช่างรุ่นก่อนมาใช้ประกอบการทำลาบนูนสูงด้วยการทำลายนูนสูงนั้นต้องมีความพยายามสูงมาก



ลักษณะเด่นของเงินภาคเหนือ


ลักษณะเด่นของเครื่องเงินภาคเหนืออยู่ที่วิธีการแกะลายสองด้าน ช่างเชียงใหม่จะตอกลายจากด้านในให้นูนตามโครงร่างรอบนอกของลายก่อน แล้วตีกลับจากด้านนอกเป็นลายละเอียดอีกที .ลักษณะลายและรูปทรงเครื่องเงินภาคเหนือก็มีแบบเฉพาะของตนเองโดยเฉพาะเครื่องเงินเชียงใหม่ จะมีลักษณะเป็นขันทรงบาตรที่มีลายนูนลึกซึ่งเรียกว่าเป็นสลุงแบบพม่าและสลุงพื้นเมืองเชียงใหม่ซึ่งปากกว้างกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางตอนก้นและตอนปากไม่ต่างกันมากนัก เกือบจะตรงเป็นทรงกระบอกเลย ขันเงินใบหนึ่ง มักมีลายหลายอยางผสมผสานกัน เช่น ลายนักษัตรมีรูปสัตว์อยู่ในกรอบรูปร่างต่างๆ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาลวดลายบนขันเงินมากมาย เท่าที่พบกันทั่วไป พอจะสรุปได้ดังนี้ คือ


.1. รูปธรรมชาติและรูปเหมือนจริงต่างๆ เช่น ทิวทัศน์ทั่วไป พระนเรศวรชนช้าง ชาวนาทำนา ไถนา ลายสถานที่เหล่านี้มีมาไม่นานเท่าไรนัก
.2. รูปเทพเจ้า หรือลายเทพพนม มาจากความเชื่อโบราณแบบฮินดู เช่น พระวิษณุกรรม พระสุรัสวดี เทพบุตร เทพธิดาทั่วไป
.3. รูปสัตว์หิมพานต์ ใช้ประกอบในงานก่อสร้างทางพระพุทธศาสนา เช่น ประตูหน้าต่างโบสถ์ สำหรับภาชนะก็จะนำไปสลักบนหีบบุหรี่ ขันเงิน ขันพานรอง ซึ่งช่างเงินตามร้านจำหน่ายเครื่องเงินนำไปสลักเป็นประจำ เช่น ราชสีห์ กินร กินรี เป็นต้น
.4. รูปตัวละครในวรรณคดีที่นิยมกันมาก คือ รามเกียรติ์ มีรูปพระราม นางสีดา ยักษ์ ลิง ทั้งเต็มตัว ครึ่งตัว ในอิริยาบถต่างๆ หรือเป็นภาพเหตุการณ์ ตอนใดตอนหนึ่งทั้งตอน
.5. รูปสัตว์สิบสองราศีที่มาจากความเชื่อแบบจีน ทำกันมาแต่โบราณ และทำกันทั่วไปในแถบนี้ หมู่บ้านวัวลาย คือ ปีกุนจะเป็นรูปช้างไม่ใช่รูปหมูแบบหมู่บ้านอื่น
.6. ลายกนก เป็นศิลปะประจำชาติของไทย ซึ่งสืบเนื่องมาจากโบราณ ลายไทยได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นจาก เถาไม้ ใบไม้ ดอกไม้ ซึ่งได้ตบแต่ง ดัดแปลง ให้งดงามยิ่งขึ้นบนขันเงิน
.7. ลายดอกที่นิยม คือ ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกจอก ดอกพุดตาน ลายใบเทศ (ใบฝ้ายเทศ) ดอกชัยพฤกษ์ ลายดอกไม้ร่วง
.8. ลายพุ่ม เช่น พุ่มข้าวบิณฑ์ เทพพนม
.9. ลายช่อ เช่น ช่อกนกสามตัว ช่อเปลว
.10. ลายก้านขด เป็นการนำลายหลายอย่างมาต่อกันโดยมีลายเชื่อมต่อร้อยกันไปเรื่อยๆ มีหลายชนิด
.11. ลายเปลว ลายเถาเครือ เป็นลายที่เลื้อยไปอย่างอิสระภายในรูปทรงของสิ่งที่ทำ มีทั้งเครือเถาชั้นเดียว เครือเถาไขว้
.12. ลายก้านขด เป็นเถาขดกลมลงในพื้นที่นั้นๆ จะเป็นวงเดียวหรือสองวง หรือไขว้กันก็ตาม เถากลมนี้ คือ เถาของลาย เพราะลายก้านขดถือเป็นการขดเถาให้กลม ซึ่งมีความสำคัญมาก จากนั้นก็วางกนกตามมุมต่างๆ ซึ่งบางตอนอาจต้องประดิษฐ์ตัวกนกให้มีขนาดและรูปร่างตามเนื้อที่พบ ตัวกนกและกาบจะต้องออกสลับกันไป เพื่อให้ได้ช่องไฟที่ดี ลายก้านขดมีความงามอยู่ตรงวงขดกลมที่ได้จังหวะกันพอดี
.13. ลายเปลว ลายชนิดนี้เป็นลายที่เกิดทีหลังลายก้านขด เถาของลายเปลวมีลักษณะคล้ายคลึงกับเถาไม้ หรือเปลวไฟที่แลบเลียไหวระริกเมื่อต้องลม เถาลายเปลวมีการขดกลมลายเปลว ส่วนมากมักนิยมทำภาพประกอบในเถากลม เช่น ตัวสัตว์ต่างๆ ตลอดจนภาพซึ่งอาจเป็นภาพเรื่องรามเกียรติ์ หรือเรื่องอื่นๆ ตลอดจนลายเทพพนม เป็นต้น
.ส่วนลวดลายบนขอบและเชิง ก็จะมีการแต่งตามขอบทั้งแนวตั้งแนวนอน มีหลายลาย